วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผลงานของสนทรภู่


ผลงานของสุนทรภู่
 
      ประวัติและผลงานของสุนทรภู่เป็นที่กล่าวขาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้แต่งประวัติสุนทรภู่โดยพิสดารไว้ กล่าวว่า ได้ทรงค้นพบมี ประมาณ ๒๔ เรื่อง โดยแยกประเภทดังนี้
นิราศสุนทรภู่
นิราศ ๙ เรื่อง
       นิราศ คือ บทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทาง ด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้าง ลำบากและใช้เวลานาน นักเดินทางจึงแก้ความเหงาเบื่อด้วยการประพันธ์บทกวี พรรณนาถึงการเดินทาง และสภาพภูมิประเทศ โดยมากมักโยงเข้ากับความรัก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายที่มาของนิราศไว้ ดังนี้: "หนังสือจำพวกที่เรียกว่านิราศ เป็นบทกลอนแต่งเวลาไปทางไกล มูลเหตุจะเกิดหนังสือชนิดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะเวลาเดินทาง ที่มักต้องไปเรือหลายๆ วันมีเวลาว่างมาก ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ไป จนเกิดเบื่อ ก็ต้องคิดหาอะไรทำแก้รำคาญ ผู้สันทัดในทางวรรณคดี จึงแก้รำคาญโดยทางกระบวนคิดแต่ง บทกลอน บทกลอนแต่งในเวลาเดินทางเช่นนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะพรรณนาว่าด้วยสิ่งซึ่งได้พบเห็นในระยะ ทาง แต่มักแต่งประกอบกับครวญคิดถึงคู่รักซึ่งต้องพรากทิ้งไว้ทางบ้านเรือน กระบวนความในหนังสือนิราศ จึงเป็นทำนองอย่างว่านี้ทั้งนั้น ชอบแต่งกันมาแต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์...นิราศที่แต่งกันในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งทั้งเป็นโคลงแลเป็นกลอนสุภาพ ดูเหมือนกวีที่แต่งนิราศ
       ในครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จะถือคติต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือคติเดิมว่า โคลงฉันท์เป็นของสำคัญ และแต่งยากกว่ากลอน กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นโคลงตามเยี่ยงอย่างศรีปราชญ์ทั้งนั้น กวีอีกพวกหนึ่งชอบ เพลงยาว อย่างเช่นเล่นกันเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น ถ้าว่าเฉพาะที่เป็นกวีคนสำคัญในพวกหลังนี้ คือสุนทรภู่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพมากเรื่องกว่าใครๆ หมด กลอนของ สุนทรภู่คนชอบอ่านกันแพร่หลาย ก็ถือเอานิราศของสุนทรภู่เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕" นิราศของสุนทรภู่ นอกจากจะพรรณนาการเดินทางแล้ว ท่านยังสอดแทรกคติธรรม ข้อเตือนใจต่างๆ และเปรียบเทียบถึงชีวิตของตัวท่านเองเข้าไว้ด้วย ทำให้นักศึกษางานของท่านสืบเสาะประวัติของท่านจาก งานนิพนธ์ของท่านเองได้มาก ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศไว้มาก
        แต่เท่าที่พบในปัจจุบันมี ๘ เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ส่วน รำพันพิลาป ก็มีเนื้อความรำพึงรำพันทำนองเดียวกับนิราศ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านสุนทรภู่เป็น ส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระนั้น ท่านได้ธุดงค์ไปทั่ว จึงเชื่อว่ายังมีนิราศ เรื่องอื่นของท่านที่ยังมิได้ค้นพบ หรืออาจไม่มีวันค้นพบก็ได้ เพราะต้นฉบับอาจถูกทำลายไปเสียแล้วเมื่อ ครั้งปลวกขึ้นกุฏิของท่านที่วัดเทพธิดารามรำพันพิลาป
       ในครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จะถือคติต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือคติเดิมว่า โคลงฉันท์เป็นของสำคัญ และแต่งยากกว่ากลอน กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นโคลงตามเยี่ยงอย่างศรีปราชญ์ทั้งนั้น กวีอีกพวกหนึ่งชอบ เพลงยาว อย่างเช่นเล่นกันเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น ถ้าว่าเฉพาะที่เป็นกวีคนสำคัญในพวกหลังนี้ คือสุนทรภู่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพมากเรื่องกว่าใครๆ หมด กลอนของ สุนทรภู่คนชอบอ่านกันแพร่หลาย ก็ถือเอานิราศของสุนทรภู่เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕" นิราศของสุนทรภู่ นอกจากจะพรรณนาการเดินทางแล้ว ท่านยังสอดแทรกคติธรรม ข้อเตือนใจต่างๆ และเปรียบเทียบถึงชีวิตของตัวท่านเองเข้าไว้ด้วย ทำให้นักศึกษางานของท่านสืบเสาะประวัติของท่านจาก งานนิพนธ์ของท่านเองได้มาก ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศไว้มาก
        แต่เท่าที่พบในปัจจุบันมี ๘ เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ส่วน รำพันพิลาป ก็มีเนื้อความรำพึงรำพันทำนองเดียวกับนิราศ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านสุนทรภู่เป็น ส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระนั้น ท่านได้ธุดงค์ไปทั่ว จึงเชื่อว่ายังมีนิราศ เรื่องอื่นของท่านที่ยังมิได้ค้นพบ หรืออาจไม่มีวันค้นพบก็ได้ เพราะต้นฉบับอาจถูกทำลายไปเสียแล้วเมื่อ ครั้งปลวกขึ้นกุฏิของท่านที่วัดเทพธิดารามรำพันพิลาป

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อเด็กหญิงอารายา    จันมี  เลขที่ 44  ชั้น ม . 3/1

ที่อยู่บ้านเลขที่ 304/1  ตำบลบงเหนือ  อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร

อาหารที่ชอบ  ข้าวผักกุ้ง

สีที่ชอบ  สีม่วง

เวลาว่าง  อ่านหนังสือ

เบอร์โทรศัพท์  0857536422

 

ประวัติสุนทรภู่


  ประวัติของท่านสุนทรภู่ 
 
   ท่านเป็นกวีเอกคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์  เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2329  ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง  มารดาเป็นคนจังหวัดไหนไม่ปรากฏ  ตั้งแต่สุนทรภู่ยังเด็ก บิดากลับไปบวชที่เมืองแกลง ส่วนมารดามีสามีใหม่มีลูกผู้หญิงอีก 2 คน ชื่อฉิมกับนิ่ม ต่อมามารดาได้เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าจงกล พระธิดาของกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่จึงเข้าไปอยู่ในวังกับมารดา  ตอนยังเป็นเด็ก สุนทรภู่ได้เล่าเรียนที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) โตขึ้นก็เข้ารับราชการเป็นนายระวางพระคลังสวน ไม่นานก็ลาออกเพราะไม่ชอบงานนี้ ชอบแต่การแต่งกลอน และแต่งสักวาเท่านั้น  ต่อมาสุนทรภู่มีสัมพันธ์รักกับสาวชาววังชื่อจัน จึงถูกจองจำทั้งคู่ ครั้นพ้นโทษ  แล้วก็ได้แต่งงานกัน และถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสของพระราชวังหลัง สุนทรภู่มีบุตรชายกับจันชื่อพัด ชีวิตคู่ของสุนทรภู่ไม่ราบรื่นเลยมักระหองระแหงกันเสมอ จนในที่สุดก็เลิกร้างกัน แล้วสุนทรภู่ก็ได้เข้ารับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เป็นที่โปรดปรานมากจดได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร เวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนติดขัดก็มักให้ สุนทรภู่แต่งต่อให้ ระยะนี้เองสุนทรภู่ก็ได้ภรรยาใหม่ชื่อนิ่ม มีบุตรด้วยกันชื่อตาบ นิ่มเสียชีวิตไปตั้งแต่ตาบยังเล็กอยู่ 4 คราวหนึ่งสุนทรภู่เมาสุรา แล้วทำร้ายญาติผู้ใหญ่จนบาดเจ็บจึงถูกจำคุก ในระหว่างต้องโทษนี้เอง ที่สุนทรภู่แต่งนิทานเรื่อง พระอภัยมณี เพื่อขายเอาเงินมาเลี้ยงชีวิต จำคุกได้ไม่นานก็พ้นโทษออกมารับราชการตามเดิม

       พอสิ้นราชการที่ 2 สุนทรภู่ก็ออกจากราชการเพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ออกจากราชการแล้วสุนทรภู่ก็บวชเป็นพระภิกษุอยู่ในวัดราชบูรณะ บวชได้ราว 3 พรรษา ก็ต้องอธิกรณ์ (โทษ) ถูกขับไล่ออกจากวัดในข้อหาเสพสุรา จึงไปอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ไม่นานก็ย้ายไปที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และวัดสุดท้ายคือวัดเทพธิดาราม แล้วก็สึกออกมา รวมเวลาบวชเป็นพระภิกษุประมาณ 18-20 ปี จากนั้นก็ตกยากจนไม่มีบ้านอยู่ต้องลอยเรือร่อนเร่แต่งกลอนขาย